วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Asean


ประเทศอาเซียน
ASEAN คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association of South East Asian Nations)
เป็นองค์การทางภูมิศาสตร์การเมืองและองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การจัดตั้ง
สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ภูมิภาคอา เซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ >> กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
ได้แก่   - ไทย
          - มาเลเซีย
          - ฟิลิปปินส์
          - อินโดนีเซีย
          - สิงคโปร์
          - บรูไน
          - ลาว
          - กัมพูชา
          - เวียดนาม
          - พม่า
โดยมีวัตถุประสงค์ >> เพื่อร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม
การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่
และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ
ตราสัญลักษณ์ >> 
Description: %E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99
  ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                  การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน นับว่าเป็นผลดีต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถต่อรองทางด้านทางการค้ากับประเทศสมาชิก นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน ได้ยึดหลักความถนัดในการผลิต หรือการแบ่งประเภทอุตสาหกรรมให้ประเทศสมาชิกทำการผลิตโดยไม่มีการผลิตแข่ง ขันกัน ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ดังนี้
 
1. ด้านการค้า ได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้าด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร หรือยกเว้นภาษีที่ประเทศไทยส่งไปขายยังประเทศสมาชิกสำหรับสินค้าบางประเภท เช่นเดียวกับที่ประเทศสมาชิกได้รับจากประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา (AFTA : ASEAN Free Trade Area)
 
2. ด้านอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับอาเซียนในการจัดตั้งโครงการอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าสำหรับทดแทน สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาเซียนได้เลือกอุตสาหกรรมหลักให้ประเทศสมาชิกเลือกทำการผลิต คือ ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช อินโดนีเซียและมาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย   สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต   โครงการนี้ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลง คือ ไทยเปลี่ยนเป็นผลิตแร่โพแทช   สิงคโปร์ยกเลิกโครงการ   ฟิลิปปินส์เปลี่ยนเป็นผลิตทองแดงแปรรูป   ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียยังคงผลิตปุ๋ยยูเรียตามเดิม ซึ่งการร่วมมือนี้เป็นการร่วมมือระดับรัฐบาล ส่วนภาคเอกชนก็มีการร่วมมือกันในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยการแบ่งการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ตามความถนัดของแต่ละประเทศ และต่อมามีโครงการแบ่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยผู้ผลิตจะต้องเป็นบริษัทเอกชนอย่างน้อย 2 บริษัท จากประเทศสมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศ
 3. ด้านการคลังและการธนาคาร นโยบายด้านการคลังและการธนาคาร ประเทศสมาชิกได้ตกลงร่วมมือกันในด้านการจัดตั้งตลาดตั๋วเงินที่ธนาคารรับรอง จัดตั้งบรรษัทการเงินอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน จัดตั้งกลไกยกเว้นการเก็บภาษีและป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อน และร่วมมือกับประชาคมยุโรปในการจัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการพัฒนาระหว่างอา เซียนกับอีอีซี
 
4. ด้านการเกษตร อาเซียนได้มีการร่วมมือกันทางด้านการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก นโยบายด้านการเกษตรได้ดำเนินการไปหลายโครงการ เช่น โครงการการสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามขาดแคลนในเวลาฉุกเฉิน โครงการจัดตั้งศูนย์วางแผนพัฒนาการเกษตรของอาเซียน โครงการจัดการเกี่ยวกับอาหารภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-ออสเตรเลีย โครงการเทคโนโลยีการประมง ภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-แคนาดา โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-อีซี โครงการจัดตั้งด่านกักกันโรคพืชและสัตว์ในภูมิภาคอาเซียน โครงการตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่า โครงการอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำลำธาร โครงการปลูกป่า และโครงการตลาดของทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นที่อยู่ในระหว่างการเจรจา
5. ด้านการขนส่งและคมนาคม เป็นนโยบายที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านการขนส่งทางบก การเดินเรือและการท่าเรือ การบินพลเรือน การไปรษณีย์และโทรคมนาคม
 
6. ด้านการเมือง ความสามัคคีระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียนในการแก้ปัญหาอินโดจีน ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจและช่วยเหลืออินโดจีนมากขึ้น และยังช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพอีกด้วย
 
7. ด้านวัฒนธรรม ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันมากขึ้น





อาเซียน ฟิลิปปินส์ (Philippinesf)

Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/d/d6/ASEAN.gif

ธงชาติฟิลิปปินส์มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง

Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/99/Flag_of_the_Philippines.svg/800px-Flag_of_the_Philippines.svg.png
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ (Coat of Arms of the Philippines)มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด (บาตันกัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก) ซึ่งอยู่ภายใต้กฏอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์ และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่งคือลูซอน วิซายา และ มินดาเนา พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกา และพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือจักรภพแห่งฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2483
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/2b/Coat_of_Arms_of_the_Philippines.svg/250px-Coat_of_Arms_of_the_Philippines.svg.png
ตราแผ่นดิน
มะนิลา (Manila หรือ Maynila ไมนิลา ในภาษาตากาล็อก)เป็นเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยุ่บนชายฝั่งตะวันออกของอ่าวมะนิลา (Manila Bay) บนเกาะลูซอนซึ่งเป้นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์ บางส่วนของเมืองมีความยากจน มะนิลาเป็นเมืองที่มีชนชาติรวมกันอยู่มากมาย และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา และอุตสหากรรมของประเทศ มะนิลาคือศูนย์กลางของเขตมหานครที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน เขต เมโทรมะนิลา (Metro Manila) เป็นมหานครที่ใหญ่กว่า ประกอบด้วยเมืองและเทศบาล 17 แห่ง เฉพาะเมืองมะนิลาเองเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน

Description: http://www.boi.go.th/thai/asean/images/wg-philippines-2372-400x300.gif
แผนที่

เพลงชาติฟิลิปปินส์มีชื่อว่า ลูปังฮินิรัง (Lupang Hinirang)ทำนองประพันธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2441/ค.ศ.1898 โดย จูเลียน เฟลิเป (Julian Felipe) ส่วนเนื้อร้องนั้นปรับมาจากบทกวีภาษาสเปนชื่อ "ฟิลิปปินัส" (Filipinas) ของกวีและทหารหนุ่มชื่อ โฆเซ ปาลมา (Jose Palma) ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2442/ค.ศ.1899 เดิมทีแล้วเพลงลูปังฮินิรังเป็นเพลงที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาใช้ในฐานะเพลงชาติในช่วงที่ฟิลิปปินส์เป็นอิสระจากสเปนในระยะเวลาสั้นๆ โดยไม่มีเนื้อร้อง ต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน รัฐบาลอาณานิคมของสหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายเรื่องธงสั่งห้ามบรรเลงเพลงนี้ กระทั่งถึงปี พ.ศ. 2461/ค.ศ.1918 กฎหมายดังกล่าวจึงถูกยกเลิก เพลงนี้จึงได้รับการแปลเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับรองจากกฎหมายให้ใช้ได้อย่างเป็นทางการในชื่อ "Philippine Hymn" (เพลงสรรเสริญฟิลิปปินส์) ต่อมาเนื้อเพลงลูปังหิรินังก็ได้รับการแปลจากภาษาสเปนเป็นภาษาฟิลิปิโนในปี พ.ศ. 2491/ค.ศ.1ภาษา
การใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการโดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษา ตากาล็อก
ศาสนา
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอันดับ 4 ของโลก นิกายโปรเตสแตนต์อันดับ 13 ของโลก ศาสนาอิสลามอันดับที่ 40 ของโลก ศาสนาฮินดูอันดับที่ 7 ของโลก และพระพุทธศาสนาอันดับที่ 17 ของโลก ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์

พรนภา           เติมอารมณ์              ม.4/6 เลขที่ 10













อาเซียน-เวียดนาม(Vietnam)


Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c3/Coat_of_arms_of_Vietnam.svg/85px-Coat_of_arms_of_Vietnam.svg.pngDescription: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/21/Flag_of_Vietnam.svg/125px-Flag_of_Vietnam.svg.png


ธงชาติของเวียดนาม                                              ตราแผ่นดินของเวียดนาม
ประเทศเวียดนามมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ยทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออก หรือในภาษาเวียดนามเรียกว่า ทะเลตะวันออก ประเทศเวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก
เมืองหลวงฮานอยเป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากรประมาณ 4,100,000 คน (พ.ศ. 2547)ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวียดนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง พ.ศ. 2345 ฮานอยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแดง อุตสาหกรรมในเมืองคือเครื่องจักร, ไม้อัด สิ่งทอ, สารเคมี และงานหัตถกรรม ฮานอยตั้งอยู่ที่ 21°2' เหรือ 105°51' ตะวันออก (21.0333, 105.85)
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ได้มีการขยายเขตกรุงฮานอยไปอีก โดยครอบคลุมบริเวณมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า เพื่อรองรับการเติบโตของเมือง และเมื่อถึงเดือนตุลาคม 2553 ก็จะครบวาระ 1000 ปีการสถาปนาเมือง
ชายแดน
ทั้งหมด 4,638 km (2,883 mi) โดยติดกับประเทศกัมพูชา 1,228 km (763 mi) ประเทศจีน 1,281 km (796 mi) และ ประเทศลาว 2,130 km (1,324 mi)
ภาษาทางการภาษาเวียดนาม เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึง 87% รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีน และเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็น ภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก ซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่า ของภาษา ที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "อักษรจื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส
การปกครองคอมมิวนิสต์
ประธานาธิบดีเจือง เติ๋น ซาง
นายกรัฐมนตรีเหงียน เติน สุง
เหตุผลการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน
1.การสนับสนุนและความช่วยเหลือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจากประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเวียดนามมองว่าเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับการปรับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์และการปรับนโยบายต่างประเทศ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนจะทำให้เวียดนามมีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศจากสมาชิกต่างๆ อันจะมีส่วนเอื้ออำนวยและเร่งการพัฒนาของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของการแข่งขันได้ในที่สุด
2.เวียดนามให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเข้าร่วมในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและระบบเศรษฐกิจของโลก การเป็นสมาชิกของอาเซียนจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในเขตการค้าเสรีอาเซียน และนำเวียดนามไปสู่ความคุ้นเคยกับแนวทางปฏิบัติในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับโลก อันจะมีผลดีและเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่จะผลักดันเวียดนามให้ก้าวไปสู้การเป็นสมาชิกของ APEC และ WTO ได้ในที่สุด
3.ในฐานะของสมาชิกอาเซียน เวียดนามหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของการค้าและการลงทุนกับประเทศอาเซียนทั้งหลาย ขณะเดียวกันในขณะที่การค้าภายในกลุ่มอาเซียนกำลังขยายตัว เวียดนามก็ได้ตระเตรียมและปรับทิศทางการส่งออกของตนที่จะไปสู่ตลาดอาเซียนนี้อย่างจริงจังมากขึ้น การนำเข้าของเวียดนามจากอาเซียนในขณะนี้เป็นครึ่งหนึ่งของการนำเข้าทั้งหมดของทั้งหมดของเวียดนาม และประมาณร้อยละ 30 ของการค้าทั้งหมดของเวียดนามที่มีกับอาเซียนนอกจากนี้ เวียดนามยังหวังว่าตนจะได้รับสิทธิพิเศษ GSP อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป และเวียดนามยังจะเป็นจุดส่งออกที่สำคัญสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ
ในขณะเดียวกันในส่วนของอาเซียน เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้อาเซียนยินดีรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกก็คือ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนของเวียดนามนั้นจะมีผลไปเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอีกทั้งอำนาจในการต่อรองทางการเมืองทั้งหลายต่างก็มีผลประโยชน์ที่สอดคล้องกัน ทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจร่วมกันอันนำไปสู่การยอมรับในที่สุด
                                                                                            ศศิธร  สิงห์สว่าง      ม.4/6  เลขที่  11
ประเทศมาเลเซีย
มาเลเซีย (มาเลย์: Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตัน ติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวัก มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน
คำขวัญBersekutu Bertambah Mutu
("ความเป็นเอกภาพคือพลัง")
ชื่อ
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/ad/LA2-NSRW-1-0148_malaysia.jpg/220px-LA2-NSRW-1-0148_malaysia.jpg
คำว่ามาเลเซียเคยถูใช้เรียกหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน
ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมือ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายา สิงค์โปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน คำว่า มาเลเซียนี้เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปีพ.ศ. 2457 ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆ มากมายก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย



ภาษา: Language
ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู ซึ่งเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Bahasa Melayu เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์ตะวันออก
ในการใช้ภาษาโดยทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน
ศาสานาและวัฒนธรรม
 มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู  7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทาง ภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร"

เมืองหลวง
Description: ตึกสวยๆที่มาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ (ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์ เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL
กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามเขตสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอ (Selangor state) บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมาเลเซีย (Peninsular Malaysia)
ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปุตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์
สกุลเงิน
ริงกิตมาเลเซีย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ดอลลาร์มาเลเซีย เป็นเงินตราประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น (รหัสเงินตรา MYR). ดอลลาร์สิงคโปร์และดอลลาร์บรูไนก็เรียกว่า ริงกิต ในภาษามาเลย์ คำว่า ringgit ในภาษามาเลย์แปลว่า "เป็นหยัก ๆ" และใช้อ้างถึงขอบหยัก ๆ ของ เหรียญเงินของประเทศสเปนที่ใช้แพร่หลายในพื้นที่
ในปี พ.ศ. 2380 รูปีได้กลายเป็นเงินตราราชการชนิดเดียวในอาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) แต่ในปี พ.ศ. 2410 เหรียญเงินได้เป็นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการนำดอลลาร์ช่องแคบ (Straits dollar) ออกมาใช้โดย Board of Commissioners of Currency โดยที่ตั้งราคาไว้ที่ 2 ชิลลิง และ 4 เพนซ์ และได้มีการห้ามไม่ให้ธนาคารเอกชนออกธนบัตรเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้เกิดความไม่ต่อเนื่องของเงินตรา 2 ครั้ง คือ การยึดครองของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2487) และการลดค่าเงินของปอนด์สเตอร์ลิงในปี พ.ศ. 2510 เป็นเหตุให้ธนบัตรของ Board of Commissioners of Currency of Malaya and British Borneo ลดค่าไป 15% ในขณะที่ดอลลาร์ของ Bank Negara Malaysia และ Commissioners of Currency ของสิงคโปร์และบรูไนไม่มีการลดค่า
ชื่อภาษามาเลย์ คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518 ก่อนหน้านี้ เงินตราได้เรียกเป็น ดอลลาร์ และ เซนต์ ในภาษาอังกฤษ และ ริงกิต และ เซ็น ในภาษามาเลย์ อย่างไรก็ดี การใช้สัญลักษณ์ดอลลาร์ "$" (หรือ "M$") ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น "RM" (Ringgit Malaysia) จนถึงช่วง พ.ศ. 2533
ตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในเอเซียเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของริงกิตกับดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ RM3.80 ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ริงกิต
Ringgit Malaysia 
รหัส ISO 4217 MYR
ใช้ใน มาเลเซีย
อัตราเงินเฟ้อ 2.1%
ข้อมูลจาก The World Factbook (พ.ศ. 2549)
หน่วยย่อย  
1/100 เซ็น
สัญลักษณ์ RM
เหรียญ 5, 10, 20, 50 เซ็น
ธนบัตร 1, 5, 10, 50, 100 ริงกิต
ธนาคารกลาง ธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย
เว็บไซต์ http://www.bnm.gov.my/
โรงกษาปณ์ Royal Mint of Malaysia
เว็บไซต์ http://www.royalmint.com.my/
อาหารประจำชาติ
อาหารมาเลเซีย มีลักษณะเด่นอยู่ที่การใช้สมุนไพร เครื่องเทศ พริก มีรสเผ็ด และมักจะใช้ผงกะหรี่ คนในปีนังไม่ว่าจะเป็นคนอินเดีย คนจีนหรือคนมาเลเซียเองชอบทานอาหารที่มีผงกะหรี่และไม่มีใครปฏิเสธอาหารที่ มีผงกะหรี่ สมุนไพรที่นำมาประกอบอาหารนอกจากสมุนไพรท้องถิ่นซึ่งมีอยู่มากมาย บางครั้งยังมีการรวมสมุนไพรหลายชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีกลิ่นหอม มักใช้ในการผัดข้าว อาหารมาเลเซียส่วนใหญ่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอาหารมุสลิม เพราะไม่ใช้เนื้อหมู และไม่ใส่ไวน์ เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทานกันจึงเป็น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ และ อาหารทะเล และภูมิภาคของมาเลเซีย
อาหารจะมีลักษณะเฉพาะต่างกัน ในปีนังจะใช้ผงกะหรี่ในการประกอบอาหารมาก เพราะคนส่วนใหญ่ชอบผงกะหรี่ ขณะที่ทางตอนใต้ของประเทศจะนิยมใช้กะทิ คล้ายกับอาหารไทย โดยจะใช้กะทิกับอาหารเกือบทุกอย่าง ข้าว เป็นอาหารจานหลักในทุกมื้อของอาหารมาเลเซียเหมือนอาหารไทย ต่างกับอาหารยุโรปที่บางมื้อเป็นขนมปัง บางมื้อเป็นเนื้อ หลายคนเห็นหน้าตาอาหารมาเลเซียคล้ายกับอาหารอินเดีย แต่ อาหารอินเดียจะใช้กะทิเป็นส่วนผสมน้อยมาก ในอาหารมาเลเซียยังมีเครื่องจิ้มคล้ายน้ำพริกกะปิ เรียกว่า ซัมบัล (Sambal) ทำจากพริกป่น หัวหอมและน้ำมะขาม เป็นส่วนหนึ่งของสำรับอาหารของชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ยังนิยมใช้ กะปิ ในการปรุงอาหารแทบทุกชนิดไม่ว่าจะผัดหรือแกง ลองมาดูสูตรอาหารมาเลเซีย

อาหารมาเลเซีย เป็นอาหารประจำชาติของชาวมาเล ที่มีการสั่งสม และถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งอดีตจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอย่างหนึ่งที่ ชวนให้ไปสัมผัสกันที่
1. ห้องอาหาร นานาชาติ ซิตี้บิสโทร โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส โดยมีเมนูเด็ดต้นตำรับอาหารมาเลเซียให้ได้ลิ้มลอง มีความโดดเด่นคือการผสมผสานเครื่องเทศ และสมุนไพรของอินเดีย อิ่มอร่อยได้ทุกวันในบุฟเฟต์มื้อเย็น 890 บาท/ท่าน โทร. 0-2216-3700 ต่อ 20100

2. ห้องอาหารคาเฟ่ จี โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพฯ เชิญมาพบกับเชฟ ชาติ อาเทฟ ซาพ เป็นเชฟอาหารตะวันออกกลางรับเชิญที่บินตรงมาจากประเทศคูเวต เพื่อมารังสรรค์หลากหลายเมนูสไตล์เลบานิส แบบต้นรำรับ เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสลิ้มลอง โทร. 0-2656-0360
3. ห้องอาหารเบนิฮาน่า โรงแรมแมริออท รีสอร์ท แอนด์สปา กรุงเทพฯ ชวนมาลิ้มลองโปรโมชั่นสุดพิเศษกับ มากิ โมโน แมดเนส ให้เลือกเต็มอิ่มกับขบวนเมนูข้าวห่อสาหร่ายหลากหลายไส้รสเลิศ อาทิ ข้าวห่อสาหร่ายสอดไส้กุ้งตัวโต ข้าวห่อสาหร่ายสอดไส้ปลาแซลมอนรมควันกับมะขื่อเทศตากแห้งข้าวห่อสาหร่ายสอด ไส้ตับห่าน และปูอัด ฯลฯ โทร. 0-2476-0022 ต่อ 1416

4. เปลี่ยนจากอาหารคาว มากินอาหารหวานกันบ้าง ซึ่งที่ห้อง บอง บอง โรงแรม แกรนด์ สุขุมวิท โซฟิเทล (สุขุมวิท6) เค้กผลไม้หลากกหลายรสชาติมาให้ลิ้มลองแบบไม่จำกัด อาทิ ฟองดูว์ผลไม้นานาชนิด, เชอรี่ทาร์ต, บลูเบอร์รี่ชีสเค้ก, กีวีมูสหวานหอม ไอศกรีมผลไม้นานาชนิด อาทิ มะม่วง, สตอเบอร์รี่, บอยเซ็นเบอรรี่ พร้อมปิดท้ายด้วย ฟรุ๊ตพันช์ หรือ ฟรุ๊ตสมู๊ตตี้ ฯลฯ โทร. 0-2207-9999 ต่อ 5611

5. ปิดท้ายกับของหวานอย่างเบเกอรี่ กันที่บุหงาตันหยง เบเกอรี่ โรงแรม เดอะแกรนด์ อยุธยา บางกอก นำเสนอลำไยหอมชื่นคอ ผสานชีสนุ่มละมุน เติมแต่งด้วยนานาผลไม้ปรุงแต่งความมหัศจรรย์ของเค้กที่เหมาะกับทุกโอกาส คัดสรร และนำเสนอ มาพร้อมๆกับ ขนมปังธัญพืชหลากชนิด เพื่อสุขภาพ และความอร่อยลิ้น.....





ดอกไม้ประจำชาติ
Description: ดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซีย

มีชื่อไทยที่สง่างามว่า ชบา ครับ แต่ก่อนบ้านแมคก็มีนะครับ แต่ทำรั้วบ้านใหม่เลยต้องจำใจตัดเค้าทิ้งไป เสียดายมากๆ เวลาเค้าบานเค้าจะสง่างามมากๆครับ ถึงแม้ว่าจะไม่มีกลิ่นก็ตาม ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย ครับ ชบา และ พู่ระหง ก็เป็นไม้มงคลอีกชนิดครับ เชื่อกันว่าจะช่วย ส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างามดั่งพู่ระหงแก่ผู้อยู่อาศัยครับ ทิศเหมาะสมคือตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ใครปลูกก็ได้ครับ แต่ควรปลูกวันพุธจ้า

ชุดประจำชาติ
Description: ชุดประจำชาติมาเลเซีย ชาย
 ผ้าซิ่น หรือ ซิ่น เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทั้งขนาด การนุ่ง และลวดลายบนผืนผ้า
ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณ การทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่างๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง
ผ้าซิ่นของไทยมักจะแบ่งได้เป็นสองลักษณะ อย่างแรกคือ ผ้าซิ่นสำหรับใช้ทั่วไป มักจะไม่มีลวดลาย ทอด้วยผ้าฝ้าย หรือด้ายโรงงาน (ในสมัยหลัง) อาจใส่ลวดลายบ้างเล็กๆ น้อยๆ ในเนื้อผ้า อีกอย่างหนึ่ง คือผ้าซิ่นสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ มักจะทอด้วยความประณีตเป็นพิเศษ มีการใส่ลวดลาย สีสันงดงาม และใช้เวลาทอนานนับแรมเดือน
ขนาดและลักษณะของผ้าซิ่นนั้น ขึ้นกับฝีมือ รสนิยม ขนบการทอในแต่ละท้องถิ่น และยังขึ้นกับขนาดของกี่ทอDescription: ชุดประจำชาติหญิงมาเลเซียด้วย การทอผ้าด้วยกี่หน้าแคบ จะได้ผ้าที่แคบ ผ้าซิ่นสำหรับใช้จริงจึงต้องนำมาต่อเป็นผืนให้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม ผ้าซิ่นในปัจจุบันจะทอด้วยกี่หน้ากว้าง ไม่ต้องต่อผืนอย่างในสมัยโบราณอีกต่อไป

เครื่องแต่งกายประจำชาติของสาวมาเลย์ (สาวมาเลย์หมายถึง หญิงมาเลเซียนที่เป็นมุสลิมค่ะ) ที่เป็นชุดยาว แขนยาว กระโปรงยาวกรอมเท้า (ถ้าเคร่งจัดต้องใส่ถุงเท้าด้วย) และต้องคลุมผมมิดชิด (คนใกล้ตัวบอกว่า เป็นความเชื่อทางศาสนาที่ว่า ห้ามผมของหญิงสาวต้องแสงแดด - แต่ไม่ยักกะบอกเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นเช่นนั้น) ชุดประจำชาติแบบนี้ เรียกว่าชุด tudung

                                                                ขวัญกมล                  ศรีทอง           ม.4/6  เลขที่  14

กัมพุชา (Cambodia)
กัมพูชา หรือชื่อทางการคือ
ราชอาณาจักรกัมพูชา (เขมร) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศใต้จรดกับอ่าวไทย ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทางทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทางทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม กัมพูชาเป็นอดีตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงแค่ประเทศเดียวเท่านั้นที่มีการปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ธงชาติ
Description: cambodia-flag
 
ตราแผ่นดินDescription: 200px-Royal_Arms_of_Cambodia
 
ความหมายของสัญลักษณ์ในดวงตรามีดังต่อไปนี้                                        
1.รัศมีที่เปล่งออกมาจากพระมหามงกุฎ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมเขมร
2.ฉัตร 5 ชั้นทั้งสองคัน หมายถึง พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินี
3.พระแสงขรรค์ หมายถึง พระราชอำนาจและความยุติธรรม
4.ราชสิห์และคชสีห์ หมายถึง ปวงชนชาวกัมพูชาผู้ค้ำจุนราชบัลลังก์
 

แผนที่
Description: CNT_Map_MonoPlanet_9 

เพลงประจำชาติกัมพูชา
คำแปล
ขอพวกเทพดา รักษามหากษัตริย์เรา
ให้ได้รุ่งเรือง โดยชัยมงคลศรีสวัสดี
เหล่าข้าพระองค์ ขอพำนักใต้ร่มพระบารมี
ในพระนรบดี วงศ์กษัตราซึ่งสร้างปราสาทหิน
ครอบครองแดนเขมร บุราณเรื้องเลื่องลือ ฯ
ปราสาทศิลา ซ่อนอยู่ท่ามกลางไพร
ควรคำนึงหวนให้ นึกถึงยศศักดิ์มหานคร
ชาติเขมรดุจหิน ดำรงวงศ์ละออยืนหยัดถาวร
เราหวังซึ่งพร บุญวาสนาแต่กาลก่อนของกัมพูชา
มหารัฐเกิดมี ช้านานมามาแล้ว ฯ
ครบวัดอาราม ยินแต่ศัพท์สำเนียงเสียงธรรม
สวดโดยยินดี รำลึกคุณพุทธศาสนา
จงเราเป็นผู้เชื่อ แน่ในใจจริงตามแบบยายตา
คงแต่เทพดา จะช่วยค้ำจุนบำรุงประโยชน์ให้
แด่ประเทศเขมร เป็นมหานคร ฯ
 
ภาษาที่ใช้ >>  ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาทางการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน
ศาสนาประจำชาติ >> ศาสนาพุทธ เพราะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา 95% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาคริสต์ 1.7% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.3%
เมืองหลวง >> กรุงพนมเปญ
สกุลเงิน >> เรียล (KHR) [อัตราแลกเปลี่ยน 100 เรียล = 1บาท]



อาหารพื้นเมือง >> ข้าวห่อใบบัว ทานกับ ห่อหมกขะแมร์
 Description: 1181811135
 
ดอกไม้ประจำชาติ >>  ดอกลำดวน
 Description: Rumdul - Cambodia, ลำดวน ดอกไม้ ประจำชาติ กัมพูชา
ชุดประจำชาติ >>








                                                                                    จตุพร ศรีภัครวัตร    ม.4/6  เลขที่  15



ประเทศบรูไน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว
(ละติจูดที่ 5 เหนือเส้นศูนย์สูตร)
พื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน
เมืองหลวง บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ประชากร 395,027 คน (2553)
ภาษาราชการ ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu)
ศาสนา อิสลาม (67%) พุทธ (13%) คริสต์ (10%) และฮินดู (10%)
Description: http://www.ladysquare.com/uploads/xiaohui/2008-04-20_190944_map_2_large.jpg











Description: http://www.thaibizchina.com/upload/iblock/1df/2010-08-10-2.jpgการเมืองการปกครอง
ประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29
รัฐมนตรีต่างประเทศ เจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ (Prince Mohamed Bolkiah)
ระบอบการปกครอง สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นองค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เขตการปกครอง แบ่งเป็นสี่เขตคือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong
วันชาติ 23 กุมภาพันธ์
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 1 มกราคม 2527
Description: http://www.koratsocial6.com/webboard/dir_txtsql/imagefiles/Rwebboard28.jpg
เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจ
หน่วยเงินตรา บรูไนดอลลาร์ (1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.07 บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 12.0 พันล้าน USD (2553)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 28,340 USD (2553)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 0.5(2553)
สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาทิ ข้าวและผลไม้
สินค้าส่งออกสำคัญ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไนดารุสซาลาม
1.ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป
1.1 ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรูไนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 เอกอัครราชทูต ณ บันดาร์ เสรี เบกาวัน คนปัจจุบัน คือ นายพิทักษ์ พรหมบุบผา และเอกอัครราชทูตบรูไนประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ Dato Paduka Haji Kamis bin Haji Tamin
1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไนดำเนินด้วยดีมาโดยตลอด ทั้งสองฝ่ายมีความใกล้ชิดโดยเฉพาะระดับพระราชวงศ์ และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำระดับสูงอยู่เสมอ ทั้งสองฝ่ายมีทัศนคติที่ดีต่อกัน ไม่มีความบาดหมางทางประวัติศาสตร์ เป็นพันธมิตรในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในกรอบอาเซียน และกรอบพหุภาคีอื่น ๆ (OIC สหประชาชาติ เอเปค) โดยมีกลไกกำกับความร่วมมือทวิภาคีที่สำคัญคือ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-บรูไน (Joint Commission for Bilateral Cooperation : JCBC) ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งแรกเมื่อปี 2546
2. ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกันราบรื่นในทุกด้าน บรูไนเป็นพันธมิตรที่ดีของไทยในเวทีระหว่างประเทศ และเป็นหุ้นส่วนที่อยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ไทยและบรูไนได้จัดตั้งกลไกความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน คือ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-บรูไน ซึ่งมีการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3031 มีนาคม 2546 ที่กรุงเทพฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานร่วม ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การทหาร การค้า การลงทุน (รวมทั้งการประมง อุตสาหกรรม และธนาคารอิสลาม) แรงงาน ความร่วมมือด้านวิชาการ การท่องเที่ยว และการสื่อสารและวัฒนธรรม ทั้งนี้ บรูไนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JCBC ครั้งที่ 2 นอกจากนั้น ไทยและบรูไนมีทัศนะทางด้านการทหารและความมั่นคงที่สอดคล้องกัน ความร่วมมือทางการทหารดำเนินอย่างต่อเนื่อง และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำระดับสูงของกองทัพทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ
3. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
3.1 การค้า
การค้าระหว่างไทยกับบรูไนในแต่ละปีขยายตัวไม่มากนัก บรูไนเป็นคู่ค้าลำดับสุดท้ายคือที่ 9 ของไทยในอาเซียน และเป็นคู่ค้าลำดับที่ 68 ของโลก ในขณะที่บรูไนเป็นคู่ค้าทั้งตลาดนำเข้าและตลาดส่งออกอันดับที่ 9 ของไทยในอาเซียน ในปี 2552 มูลค่าการค้ารวม 227 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 โดยไทยส่งออกไปบรูไนมูลค่า 124 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากบรูไน 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่ส่งออกไป ได้แก่ ข้าว หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์เซรามิก ผลิตภัณฑ์ยาง กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น ส่วนการนำเข้าสินค้าจากบรูไนมีการนำเข้า สินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
3.2 การลงทุน
3.2.1 การลงทุนของบรูไนในไทยที่สำคัญ คือ การลงทุนระหว่าง Brunei Investment Agency (BIA) และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน (Matching Fund) ในชื่อกองทุนไทยทวีทุน 1 มูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 มีอายุกองทุน 8 ปี กองทุนไทยทวีทุน 1 ได้หมดอายุลงเมื่อ พ.ศ. 2551 และเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 กบข. และ BIA ได้จัดตั้งกองทุนไทยทวีทุน 2 มูลค่า 2,530 ล้านบาท ซึ่งมีอายุกองทุน 10 ปี นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนภายใต้ BOI จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการเอเพ็กซ์ เซอร์คิต (ไทยแลนด์) จำกัด
3.2.2 สำหรับการลงทุนของนักธุรกิจไทยในบรูไนส่วนใหญ่จะอยู่ในสาขารับเหมาก่อสร้าง/สถาปนิก โดยบริษัทไทยที่ลงทุนในบรูไนคือบริษัท Brunei Construction ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และบริษัท Booty Edwards & Rakan-Rakan บริษัทสถาปนิก (การประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติในบรูไนจะต้องมีชาวบรูไนเป็นหุ้นส่วน ซึ่งรัฐบาลไม่ได้กำหนดอัตราการถือหุ้นส่วนอย่างตายตัว) นอกจากนี้ ธุรกิจของคนไทยในบรูไนจะเป็นร้านขายของ ร้านอาหาร และอู่ซ่อมรถ เป็นต้น
3.3 การท่องเที่ยว
แม้ว่านักท่องเที่ยวบรูไนจะเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไม่มากนัก (5,998 คน ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2552) แต่ถือได้ว่าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพในการจับจ่ายสูง ขณะเดียวกันรัฐบาลบรูไนมีนโยบายพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและการท่องเที่ยว ไทยและบรูไนได้เคยหารือกันถึงความร่วมมือระหว่างกันในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Eco-Tourism) และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) เพราะจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกันและภายในภูมิภาค
4. ความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศ
4.1 การเยือนที่สำคัญ
Description: http://www.asiashoppingtour.com/images/column_1245129006/mosque%2520-%2520brunei,%2520golden%2520mosque%25201.jpg(1) ฝ่ายไทย



Description: http://www.whoweeklymagazine.com/file-lib/picmedia/image/%20Royalty/Foreign_Royalty/Sultan%20of%20Brunei/000_Hkg1477343-H2(AFP).jpgพระราชวงศ์
- เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ทรงทำการบินโดยเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินไทยมายังบรูไน
รัฐบาล
- เมื่อวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เยือนบรูไนอย่างเป็นทางการ
- เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 1 สิงหาคม 2551 พล.ร.อ. สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เยือนบรูไนเพื่ออำลาในโอกาสพ้นหน้าที่
- เมื่อวันที่ 17-19 มีนาคม 2552 พล.อ. ทรงกิตติ จักกาบาตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เยือนบรูไนอย่างเป็นทางการ
- เมื่อวันที่ 28-30 เมษายน 2552 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เยือนบรูไนเพื่อเข้าร่วมการประชุมย่อยในภูมิภาคระดับรัฐมนตรีว่าด้วยปัญหามลพิษ
- เมื่อวันที่ 3-4 มิถุนายน 2552 พล.อ.อ อิทธิพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เยือนบรูไนอย่างเป็นทางการ
- เมื่อวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2552 นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เยือนบรูไนอย่างเป็นทางการ
- เมื่อวันที่ 19-20 ตุลาคม 2552 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เยือนบรูไน อย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมการประชุม SEMEO VOCTECH และร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจด้านการศึกษาไทย-บรูไน
(2) ฝ่ายบรูไน
พระราชวงศ์
- เมื่อวันที่ 11 - 14 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งบรูไน ได้เสด็จมาร่วมพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ระดับรัฐบาล
- เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนได้เสด็จมาร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
- เมื่อวันที่ 10 -12 เมษายน 2552 สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนเสด็จเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน + 3 ครั้งที่ 12 และการประชุดสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 4 ที่พัทยา
- เมื่อวันที่ 21 - 23 กรกฎาคม 2552 เจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า คนที่ 1 เสด็จเยือนไทยเพื่อทรงเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ที่จ.ภูเก็ต
- เมื่อวันที่ 22 - 25 สิงหาคม 2552 เจ้าหญิงมัสนา รักษาการตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เสด็จเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุม Asean Socio-Cultural Community (ASCC) Council ครั้งที่ 1
- เมื่อวันที่ 23 - 25 ตุลาคม 2552 สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 15 การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) ครั้งที่ 12 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) ครั้งที่ 4 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
4.2 การประชุมที่สำคัญ
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-บรูไน (Joint Commission for Bilateral Cooperation : JCBC) ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งแรกเมื่อปี 2546
ความตกลงที่สำคัญระหว่างไทย บรูไน
(1) ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างและพ้นจากอาณาเขตของไทยและบรูไน ลงนามเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2530
(2) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย - บรูไน ลงนามเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2542
(3) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีด้านสารสนเทศและการกระจายเสียงและภาพระหว่างไทย-บรูไน ลงนามเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2544
(4) พิธีสารว่าด้วยการเปิดเสรีด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547
(5) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการศึกษาระหว่างไทยกับบรูไน ลงนามเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2552
(6) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการลงทุนระหว่างกองทุนบำเหน็จบำนาญรข้าราชการ กับ
Brunei Investment Agency ลงนามเมื่อวันที่ 27สิงหาคม 2545
(7) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลบรูไน และ บริษัทเจียเม้ง จำกัด ลงนามเมื่อวันที่ 27สิงหาคม 2545
(8) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการลงทุนระหว่าง Brunei Investment Agency และ the Biz Dimension Co. Ltd.ลงนามเมื่อวันที่ 27สิงหาคม 2545
5.เรื่องอื่น ๆ
ปัจจุบันบรูไนหันมาให้ความสำคัญกับการยกระดับและพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยจะพัฒนาการเกษตรแบบดั้งเดิมเป็นการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งจะนำไปสู่การเกษตรเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ รัฐบาลได้เน้นให้มีการส่งเสริมการปลูกข้าวทั่วประเทศ โดยขอความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ จีน ไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์


                                                                                        จตุพร ศรีภัครวัตร    ม.4/6  เลขที่  15









อินโดนีเซีย INDONESIA
อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 300 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย
ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุงยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506
การเมืองการปกครอง
ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศและดูแลประเทศ


การแบ่งเขตการปกครอง
ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - propinsi-propinsi) 2 เขตปกครองพิเศษ(special regions - daerah-daerahistimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district - daerahkhususibukota) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่
เกาะสุมาตรา
เขตปกครองพิเศษอาเจะห์ -บันดาร์อาเจะห์*
จังหวัดสุมาตราเหนือ -เมดาน
จังหวัดสุมาตราใต้ -ปาเลมบัง
จังหวัดสุมาตราตะวันตก -ปาดัง
จังหวัดรีเยา -เปอกันบารู
หมู่เกาะรีเยา -ตันจุงปีนัง
จังหวัดจัมบี -จัมบี
หมู่เกาะบังกาเบลีตุง -ปังกัลปีนัง
จังหวัดเบงกูลู -เบงกูลู
จังหวัดลัมปุง -บันดาร์ลัมปุง
เกาะชวา
เขตนครหลวงพิเศษจาการ์ตา**
จังหวัดชวากลาง -เซมารัง
จังหวัดชวาตะวันออก -บังดุง
จังหวัดชวาตะวันตก -ซูราบายา
จังหวัดบันเตน -เซรัง
เขตปกครองพิเศษย็อกยาการ์ตา
หมู่เกาะซุนดาน้อย
จังหวัดบาหลี -เดนปาซาร์
จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันออก -คูปัง
จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันตก -มาตาราม
เกาะบอร์เนียว
จังหวัดกาลีมันตันกลาง -ปาลังการายา
จังหวัดกาลีมันตันใต้ -บันจาร์มาซิน
จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก -ซามารินดา
จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก -ปนตีอานัก
เกาะซูลาเวซี
จังหวัดโกรอนตาโล -โกรอนตาโล
จังหวัดซูลาเวซีเหนือ -มานาโด
จังหวัดซูลาเวซีกลาง -ปาลู
จังหวัดซูลาเวซีใต้ -มากัสซาร์
จังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ -เกินดารี
จังหวัดซูลาเวซีตะวันตก -มามูจู
หมู่เกาะโมลุกกะ
จังหวัดมาลูกู -อัมบน
จังหวัดมาลูกูเหนือ -เตอร์นาตี
เกาะนิวกินี
จังหวัดปาปัว -จายาปุระ
แผนที่แสดงจังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย

ทรัพยากรและเศรษฐกิจ
ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตผลจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับ ประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็น สินค้าออก เกษตรกรรม มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ ประมง ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำใหอินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีต่อกันมาโดยตลอด และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อินโดนิเซียเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเหมือนประเทศไทย และมีสำนักงานใหญ่ขององค์การอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา




จารุณัฐ           ชาตรูประชีวิน          ม.4/6  เลขที่  16

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
เมืองหลวง: สิงคโปร์
ภาษาทางการ: ภาษาอังกฤษภาษาจีนกลางภาษามาเลย์ภาษาทมิฬ
เนื้อที่: 697ตารางกิโลเมตรลำดับที่192ของโลก
สกุลเงิน: ดอลลาร์สิงคโปร์
คำขวัญ: MajulahSingapura ("สิงคโปร์จงเจริญ")
ประวัติศาสตร์
ช่วงต้นสิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดแหลมมลายูเป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลกเดิมชื่อว่าเทมาเส็ก (ทูมาสิค) มีกษัตริย์ปกครองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่17ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมืองแต่เรือก็อับปางลงพระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่งแล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาวพระองค์จึงถามคนติดตามว่าสัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือสิงโตพระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่าสิงหปุระต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละกา
ยุคการล่าอาณานิคมประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกสเมื่อปีค.ศ. 1511แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไปแต่ประมาณปีค.ศ. 1817อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคมอังกฤษได้ส่งเซอร์โทมัสแสตมฟอร์ดบิงก์เลย์แรฟเฟิลส์มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านปกครองอยู่แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านว่าจะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่แต่สุดท้ายอังกฤษก็ยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ
สงครามโลกครั้งที่2ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและก็สามารถยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลงอังกฤษก็ได้ครอบครองสิงคโปร์เหมือนเดิม
การรวมชาติเข้ากับมาเลเซียเมื่อสิงคโปร์เห็นมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษสิงคโปร์จึงรีบขอรวมชาติเข้ากับมลายาทันทีเพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีกแต่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลเซียมากนักเพราะมีการเหยียดชนชาติกันทำให้พรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกราชตั้งแต่วันที่9สิงหาคมค.ศ. 1965ตั้งแต่บัดนั้นมา
สาธารณรัฐสิงคโปร์เมื่อแยกตัวออกมาแล้วพรรคกิจประชาชนก็ครองประเทศมาตลอดจนถึงทุกวันนี้
การเมือง
ระบอบการปกครองของสิงคโปร์คือระบอบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนายเซลลาปันรามานาทานเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่1 กันยายนพ.ศ. 2542 ส่วนนายกรัฐมนตรีคือนายลีเซียนลุงซึ่งรับตำแหน่งต่อจากนายโก๊ะจ๊กตงและนายลีกวนยูซึ่งมีฐานะเป็นบิดาของนายลีเซียนลุงสิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียเมื่อปีพ.ศ. 2508 มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขทางพิธีการและมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขทางด้านบริหารสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลกเพราะนับแต่ตั้งประเทศเป็นต้นมามีรัฐบาลที่มาจากพรรคเดียวและเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากและมีการควบคุมสิทธิเสรีภาพของสื่อสารมวลชนและประชาชนในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างค่อนข้างเข้มงวด
เศรษฐกิจ
1.การเพาะปลูกปลูกยางพารามะพร้าวผักผลไม้แต่พื้นที่มีจำกัด
2.อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านมีอุตสาหกรรมเบาเช่นผลิตยางพาราขนมปังเครื่องดื่มและอุตสาหกรรมหนักเช่นอู่ต่อเรือทำเหล็กกล้ายางรถยนต์มีกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งใหญ่เป็นอันดับ2ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้สร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ด้วย
3.การค้าขายเป็นท่าเรือปลอดภาษีประเทศต่างๆส่งสินค้าต่างๆมายังสิงคโปร์เพื่อส่งออกและสิงคโปร์ยังรับสินค้าจากยุโรปสหรัฐอเมริกาออสเตรเลียญี่ปุ่นเพื่อส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้านมีท่าเรือน้ำลึกเหมาะในการจอดเรือส่งสินค้า

สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลกไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่นแต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีเพราะสิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้าโดยเป็นประเทศพ่อค้าคนกลางในการขายสินค้าเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าปลอดภาษีทำให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูกปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่งและยังได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทยลาวเวียดนามกัมพูชาและพม่าสิงคโปร์มีประชากรน้อยจึงต้องพึงพาแรงงานจากต่างชาติในทุกระดับสิงค์โปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงให้และมีฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่งคั่งที่สุดประเทศนึงในโลก
ประชากรประชากรหนาแน่นที่สุดในภูมิภาคและเป็นประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาคเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ2 ของโลกมีจำนวนประชากรประมาณ5.08 ล้านคน (2553) ประกอบด้วยชาวจีน (76.5%) ชาวมาเลย์ (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่นๆ (1.6%)
วัฒนธรรมจากการที่มีประชากรหลายเชื้อชาติ สิงคโปร์จึงมีผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ คือ พระพุทธศาสนา ศาสนาฮินดู คริสต์ศาสนา และลัทธิเต๋า





ใจกลางเมืองประเทศสิงคโปร์

ธงประจำชาติ





เมอร์ไลออน          สัญลักษณ์ประจำชาติ


                ชวพร พฤกษสุนทรชัย        ม.4/6  เลขที่  17


Description: http://variety.teenee.com/foodforbrain/img2/115825.pngประเทศไทยกับอาเซียน
Description: http://www.cpthailand.com/Portals/2/TalkCP/aseanlogo.gif 




ความสำคัญ
ประเทศไทยรับมอบตำแหน่งประธานของอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 โดยไทยจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนจนถึงเดือนธันวาคม ศกหน้า (2552) ทั้งนี้ การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเป็นการหมุนเวียนตามตัวอักษรภาษาอังกฤษของชื่อประเทศสมาชิกอาเซียน กล่าวคือ ในปัจจุบันที่อาเซียนมีสมาชิก 10 ประเทศ ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นประธานอาเซียนหนึ่งครั้งในรอบ 10 ปี
การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย อยู่ในจังหวะเวลาที่สำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงที่ (1) กฎบัตรหรือกฎหมายสูงสุดของอาเซียน จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งนอกจากที่ประธานอาเซียนจะมีหน้าที่ต้องดำเนินบทบาทตามที่กฎบัตรอาเซียนระบุไว้แล้ว การมีผลบังคับใช้ของกฎบัตรอาเซียน ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรอาเซียน รวมถึงการทำให้อาเซียนเป็นองค์กรของประชาชนอาเซียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับประธานอาเซียนในการช่วยทำให้เป้าหมายดังกล่าวบรรลุผล (2) มีการจัดทำแผนงานสำหรับการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน เพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นประชาคมเดียวกันภายในปี 2558 และ (3) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนเป็นปีแรก (2551-2555)
ภารกิจที่สำคัญของไทยในฐานะประธานอาเซียน
ในฐานะประธานอาเซียน ไทยมีบทบาทหลายประการตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้ อาทิ (1) การส่งเสริมและเพิ่มพูนผลประโยชน์ และความเป็นอยู่ที่ดีของอาเซียนอย่างแข็งขัน รวมถึงความพยายามในการสร้างประชาคมอาเซียนโดยการริเริ่มทางนโยบาย การประสานงาน และความร่วมมือ (2) การเสริมสร้างการมีบทบาทนำของอาเซียนในภูมิภาค (3) การทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อประเด็นเร่งด่วนหรือสถานการณ์วิกฤติที่มีผลกระทบต่ออาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที และ (4) เป็นผู้แทนของอาเซียนในการเสริมสร้างและส่งเสริมความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนภายนอกภูมิภาคให้ใกล้ชิดขึ้น
ในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ไทยจะต้องเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่สำคัญของอาเซียน อาทิ (1) การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 และการประชุมสุดยอดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2551 ณ เมืองเชียงใหม่ (2) การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งกำหนดจะมีขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 (3) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 ( 42nd ASEAN MinisterialMeeting – AMM) และประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของคู่เจรจาของอาเซียน ในเดือนกรกฎาคม 2552 และ (4) การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดจะมีขึ้นประมาณเดือนตุลาคม 2552
เป้าหมายของไทยในฐานะประธานอาเซียน
ในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยในครั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายหลักที่จะผลักดันไว้ 3 ประการ ได้แก่ (1) การอนุวัติข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (Realising the commitments under theASEAN Charter) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การนำข้อบทต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกฎบัตรอาเซียน มาทำให้มีผลเป็นรูปธรรม เช่น การจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน และการจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา เพื่อเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ซึ่งจะได้รับการจัดตั้งภายหลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้เช่นกัน) ตลอดจนประสานงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียนที่ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา (2) การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Revitalising ASEAN as apeople-centred Community) โดยการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้เกิดในหมู่ประชาชนทั่วไป และการส่งเสริมให้ประชาชนและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ เพื่อลบภาพในอดีตว่า อาเซียนเป็นองค์กรสำหรับภาครัฐ โดยประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเท่าที่ควร โดยในโอกาสที่ไทยจะเป็นประธานอาเซียนในครั้งนี้ ไทยจะจัดให้มีการประชุมของภาคประชาสังคมอาเซียน (ASEAN Civil Society Conference) ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในเดือนธันวาคม ศกนี้ด้วย โดยผลของการประชุมของภาคประชาสังคม จะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป (3) การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing human development and security for all peoples of the region) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การทำให้ผลการดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ ของอาเซียน เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะการทำให้ความร่วมมือของอาเซียนสามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเสริมสร้างเสถียรภาพด้านการเงินในภูมิภาค ซึ่งประเด็นเหล่านี้ จะเป็นหนึ่งในบรรดาเรื่องที่ไทยหยิบยกขึ้นหารือในการประชุมระดับผู้นำอาเซียนที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนธันวาคม 2551
ยุทธศาสตร์ของไทยในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน
•  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น ยุทธศาสตร์ที่ไทยจะใช้ในการดำเนินการ ได้แก่ (1) การสร้างความตระหนักรู้ของประชาชนไทยในเรื่องอาเซียน หรือการทำให้เรื่องที่เกี่ยวกับอาเซียน รวมถึงประโยชน์ต่างๆ ที่ประชาชนจะได้รับจากความร่วมมือของอาเซียน เป็นที่รับรู้โดยทั่วไป (2) การส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทไทยในฐานะประธานอาเซียน (3) การเสริมสร้างให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รวมตัวกันเป็น ประชาคมอาเซียน ทั้งในด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม ภายในปีเป้าหมาย 2558 และ (4) การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง เช่น การสร้างความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น

ศุภกานต์ ปริญญาวุฒิกุล ม.4/6 เลขที่ 34
อาเซียน ลาว(Laos)



ธงชาติลาว                                                                   
   ตราแผ่นดินสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เพลงชาติลาว เพลงชาติลาว หรือ เพงซาดลาวในภาษาลาว เป็นเพลงที่ได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติของราชอาณาจักรลาวอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2490 แต่งขึ้นทั้งส่วนคำร้องฉบับแรกสุดและทำนองเพลงเมื่อปี พ.ศ. 2484 โดย ดร.ทองดี สุนทอนวิจิด พ.ศ. 2448 - 2511 เมื่อพรรคประชาชนปฏิวัติลาวสามารถล้มล้างรัฐบาลระบอบกษัตริย์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2518 เนื้อร้องของเพลงชาติลาวสมัยราชอาณาจักร จึงถูกยกเลิก และได้มีการเปลี่ยนเนื้อเพลงเป็นฉบับที่แต่งโดยท่านสีซะนะ สีสาน โดยประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นวันสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เนื้อเพลงชาติฉบับดังกล่าวได้ใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2531 รัฐบาลลาวจึงได้รับรองเพลงชาติซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อเพลงบ้างเล็กน้อยมาเป็นเนื้อร้อง ฉบับปัจจุบัน ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฉบับลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531
เนื้อร้อง
ซาดลาวตั้งแต่ใดมา  ลาวทุกถ้วนหน้าเซิดซูสุดใจ  ฮ่วมแฮงฮ่วมจิดฮ่วมใจ  สามักคีกันเปันกำลังเดียว  เดัดเดี่ยวพ้อมกันก้าวหน้า  บูซาซูเกียดของลาวส์่งเสิมใซ้สิดเปันเจ้า  ลาวทุกซ์นเผ์่าสะเหมีพาบกัน  บํ่ให้พวกจักกะพัด  และพวกขายซาดเข์้ามาล์บกวน  ลาวทังมวนซูเอกะลาด อิดสะละพาบของซาดลาวไว้  ตัดสินใจสู้ซิงเอาไซ  พาซาดลาวไปสู่ความวัดทะนา
ภาษา
ประเทศลาวใช้ภาษาลาวเป็นภาษาทางการทั้งในส่วนของภาษาพูดและระบบการเขียน ส่วนในกลุ่มชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงยังคงมีการใช้ภาษา ประจำเผ่าของตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นที่มีการใช้ได้แก่ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ปัจจุบันยังคงใช้ใน วงราชการและการติดต่อค้าขายบ้าง อีกภาษาหนึ่งที่สำคัญคือภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในการติดต่อกับต่างประเทศและการค้า ซึ่งนับวันการศึกษา ภาษาอังกฤษก็ยิ่งจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
ศาสนาประจำชาติ Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/bb/Pha_That_Luang_Vientiane_Laos.jpg/220px-Pha_That_Luang_Vientiane_Laos.jpg
ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ
(ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง
ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์
ส่วนมากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลาม
มีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อยจีนฮ่อที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้ และจามในเวียงจันทน์
 เมืองหลวง
นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นเขตที่ตั้งของกรุงเวียงจันทน์เมืองหลวงของประเทศลาว ลักษณะการปกครองคล้ายกับกรุงเทพมหานคร อยู่ทางตอนกลาง ของประเทศลาว มีเมืองเอกคือจันทะบูลี มีเขตติดต่อเป็นชายแดนกับประเทศไทยระหว่างเวียงจันทน์กับหนองคายของประเทศไทย ทางสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 แขวงนครหลวงเวียงจันทน์เป็นแขวงที่เจริญที่สุดใน 18 แขวงของประเทศลาว
อาหารประจำชาติ
อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น
Description: http://image.dek-d.com/23/1298727/102493552
ชุดแต่งกายประจำชาติ 
การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง)
Description: http://www.aseanfootball.org/images/CHAMPA01.jpg
อารียา             แก้วพลรัง      ม.4/6  เลขที่  35
สหภาพพม่า
Description: http://www.khonkhurtai.org/images/stories/news-pics2011/politics/myanmar-flag.jpg
บันทึกอาเซียน | ASEAN DIARY : พม่าจะเป็นประธานอาเซียน?

ปี 2008-2009 ประเทศไทย รับหน้าที่ประธานอาเซียน เป็นหน้าที่ตามลำดับอักษรนำหน้าชื่อประเทศภาษาอังกฤษ คือ T-Thailand
ปี 2010 จึงเป็นปีของเวียดนาม (V-Vietnam)
ปี 2011 นี้ อินโดนีเซีย (I-Indonesia) รับหน้าที่ประธานอาเซียน แทนบรูไน (B-Brunei) เนื่องจากอินโดนีเซียร้องขอข้ามลำดับอักษรมาทำหน้าที่ประธานก่อนบรูไนด้วยเหตุผลพิเศษว่าจะมีงานสำคัญในระดับนานาชาติหลายงาน (รวมทั้ง SEA Games)
ปี 2012 C-Cambodia จะเป็นประธานอาเซียน
ปี 2013 B-Brunei กำหนดเป็นประธานตามที่สลับปีกันกับอินโดนีเซีย
ปี 2014 L-Lao รับตำแหน่งประธานตามลำดับอักษรปรกติ
ปี 2015  M-Malaysia และ
ปี 2016 ควรจะเป็น M-Myanmar ที่จะได้รับตำแหน่งประธานอาเซียน (หากใช้ชื่อเก่า B-Burma ก็จะเป็นปี 2014)
ที่ว่าพม่า ควรจะเป็นประธานอาเซียนในปี 2016 หรือ 2014 นั้นก็เพราะพม่า หรือ M-Myanmar เคย ควรที่จะได้เป็นประธานอาเซียนต่อจาก M-Malaysia ตั้งแต่ปี 2006 แล้ว แต่ก็ไม่ได้เป็น

พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนพร้อมกับลาวในวันที่ 23 กรกฎาคม 1997 หากดูตามลำดับอักษรชื่อประเทศ แต่ไม่ได้เป็นประธานเมื่อถึงเวลา ก็ด้วยเหตุแห่งความไม่พร้อมทั้งของพม่าเองและอาเซียนในภาพรวมก็อาจอธิบายได้ว่าพม่ายังไม่พร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม การสื่อสาร การที่พม่าไม่เปิดประเทศอย่างเสรีก็ทำให้การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนติดขัดไม่สะดวก โดยเฉพาะสื่อสารมวลชนต่างประเทศจะไม่ได้รับความสะดวกหรือไม่มีเสรีภาพในการเดินทางทำงานข่าวสารต่างๆ และที่สำคัญ พม่ายังมิได้ปรับระบบการเมืองการปกครองให้พร้อมที่จะสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในระดับนานาชาติ
จากปี 2010 เป็นต้นมา พม่าพยายามแสดงความพร้อมที่จะปรับประเทศเข้าสู่มาตรฐานอันควรเป็นที่พอใจและยอมรับของนานาชาติมากขึ้น ในด้านอาคารสถานที่และการบริหารจัดการประชุมระดับนานาชาตินั้นพม่ามีขีดความสามารถทำได้มานานแล้ว ไม่เป็นที่กังขาของใครแต่อย่างใด ไม่ว่าจะจัดที่ย่างกุ้ง นครหลวงเก่า หรือจะไปจัดที่เนปิดอว์เมืองหลวงใหม่ หรือที่มัณฑะเลย์ พม่าย่อมจัดงานใหญ่ได้เสมอ และโดยมาตรฐานอาเซียน อาเซียนเองก็มิได้มีมาตรฐานการจัดงานอะไรเป็นแบบแผน ไม่มีข้อกำหนดว่างานจะต้องยิ่งใหญ่หรูหราเหมือนการประชุมสุดยอดของโลกที่ไหน ใครจัดงานก็กำหนดรูปแบบเอาเอง ยาก ง่าย ใหญ่ เล็ก หรูหรา ฟุ่มเฟือย เรียบง่าย อย่างไร ไม่ใช่ประเด็นกีดกันการเป็นประธานอาเซียน
ปัญหาหลักเป็นเรื่องความพร้อมทางการเมือง หากพม่ายังไม่เปิดประเทศ ยังไม่ให้เสรีภาพในการเดินทางท่องเที่ยวและการทำงานข่าวสารอย่างเสรี หากพม่ายังไม่พัฒนาระบบการเมืองการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยเสรีพอที่นานาชาติจะยอมรับได้ พม่าก็ยังไม่มีโอกาสจะได้เป็นประธานอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันนั้นพร้อมเสมอที่จะไปประชุมสุดยอดและประชุมระดับอื่นๆในพม่า แต่ประเทศคู่เจรจา-โดยเฉพาะประเทศที่ยังคัดค้านรัฐบาลพม่าเรื่องประชาธิปไตยอยู่เช่นสหรัฐอเมริกา-ก็จะไม่ไปร่วมประชุมที่พม่าด้วย พม่าจึงมีหน้าที่ที่จะพิสูจน์ให้อาเซียนและชาวโลกได้เห็นว่าพม่าพร้อมแล้วที่จะเป็นประธานอาเซียน โดยแสดงให้ปรากฏเป็นรูปธรรมว่าพม่าพร้อมแล้วที่จะปรับและเปิดประเทศให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศและสังคมโลก

ปีที่ผ่านๆมาพม่าประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เปลี่ยนธงชาติ เปลี่ยนชื่อประเทศ (จาก Union of Myanmar เป็น Republic of the Union of Myanmar) จัดการเลือกตั้งในรูปแบบประชาธิปไตย ปล่อยตัวนางอองซานซูจี นักโทษการเมืองคนสำคัญซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายค้านของรัฐบาลทหารพม่า แม้ว่าอาจจะถูกวิจารณ์โดยสื่อสารมวลชนและรัฐบาลหลายประเทศในตะวันตกว่าพม่ายังไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง แต่ก็เป็นที่ยินดีของอาเซียนว่าพม่าก้าวเข้าสู่ความจริงจังเรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยบ้างแล้ว การปฏิรูปการเมืองในพม่านี้เองคือเงื่อนไขสำคัญของการจะได้โอกาสทำหน้าที่ประธานอาเซียนโดยพม่า

ตอนปลายเดือนตุลาคม 2011 นายมาร์ตี นาตาเลกาวา (Marty Natalegawa)รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียเดินทางไปเยือนพม่าในฐานะประธานอาเซียน แล้วให้ความเห็นว่าการปฏิรูปการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของพม่าเป็นกระบวนที่ดูแล้วก้าวไปข้างหน้าแบบที่ไม่คิดว่าจะย้อนกลับหลังหันได้อีกต่อไปแล้ว (“I wish to believe and I get the sense that they are meant to be irreversible. I did not get any indication that the process will stop.” -Reuters - http://www.eurasiareview.com/01112011-burmas-chances-for-asean-chairmanship-brighten-analysis/) นายมาร์ตี นาตาเลกาวาให้สัมภาษณ์ต่อไปว่า
หวังจะเห็นพม่าปล่อยนักโทษการเมืองมากยิ่งขึ้น
จัดการแก้ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงกับชุมกลุ่มน้อยให้ได้มากยิ่งขึ้น
หากพม่าทำได้เป็นที่ยอมรับของรัฐสมาชิกอาเซียน พม่าก็จะได้โอกาสเป็นประธานอาเซียนเร็วขึ้น การเดินทางไปเยือนพม่าของรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียครั้งนี้ก็เพื่อศึกษาดูความก้าวหน้าในการปฏิรูปการเมืองของพม่า ตามที่ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนมีมติในการประชุมครั้งที่ 18 ที่จาการ์ตา  (7-8 พฤษภาคม 2011) ว่าจะต้องดูความพร้อมของพม่าก่อนการรับตำแหน่งประธานอาเซียน ซึ่งพม่าขอเป็นประธานในปี 2014 (ปี 2014 ตามที่พม่าร้องขอ หรือจะเป็นปี 2016 หากนับตามลำดับปีก็สุดแล้วแต่)
หลังจากการประชุมสุดยอดครั้งที่ 18 ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ดูโยโดโน แห่งอินโดนีเซียแถลงว่าอาเซียนมิได้ปฏิเสธว่าพม่าไม่ควรเป็นประธานอาเซียน แต่พม่าจะต้องดำเนินกระบวนการปฏิรูปประชาธิปไตยต่อไปเพื่อให้พ้นจากการตำหนิติเตียนจากรัฐสมาชิกอาเซียนด้วยกัน
รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย (Marty Natalegawa) กล่าวว่าพม่าควรจะปรับกฎหมายพรรคการเมืองให้โอกาสแก่พรรคการเมืองฝ่ายค้านได้มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเสมอภาคกันด้วย การแก้กฎหมายพรรคการเมืองและกฎหมายเลือกตั้งในพม่าจึงจะเป็นข้อพิสูจน์ผลการปฏิรูปประชาธิปไตยในพม่าและจะเป็นการให้โอกาสพม่าได้เป็นประธานในอนาคตด้วยไม่ว่าจะเป็นปี 2014 หรือ 2016พม่าต้องการเป็นสมาชิกอาเซียนมานานก่อนปีที่ได้รับเข้าเป็นสมาชิก พม่าต้องการปรับเปลี่ยนประเทศให้เป็นที่ยอมรับโดยสมบูรณ์ในหมู่รัฐสมาชิกอาเซียน หากพม่าได้เป็นประธานอาเซียนเมื่อไรก็จะเป็นการแสดงว่าพม่าเป็นที่ยอมรับแล้วว่าพัฒนาประชาธิปไตยมาถึงระดับที่โลกยอมรับได้แล้วแม้จะอยู่ในขั้นต้นก็ตาม และนั่นก็หมายความว่าพม่ากำลังเริ่มจะเป็นที่ยอมรับของสังคมโลกได้บ้างแล้ว


                                                                ธัญชนก          วัชรสุวรรณมาศ       ม.4/6  เลขที่  41